วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

น้ำยาเช็ดกระจก



                  น้ำยาเช็ดกระจกจัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ซักล้าง จึงมีสารลดแรงตึงผิวเป็นองค์ประกอบหลักผสมกับสารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลาย ซึ่งแต่ละยี่ห้อมีส่วนผสมหลักคล้ายคลึงกัน 


น้ำยาเช็ดกระจกคืออะไร
       น้ำยาทำความสะอาดสารพัดประโยชน์และน้ำยาเช็ดกระจกหลายยี่ห้อมีแอมโมเนียเป็นส่วนผสม แอมโมเนียมีฤทธิ์เป็นด่างและสามารถกัดกร่อน มีสูตรเคมีคือ NH3 ซึ่งปกติจะอยู่ในสถานะก๊าซไม่มีสีที่มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว แต่เมื่อละลายน้ำจะอยู่ในรูปสารละลายของแอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (NH4OH) อย่างไรก็ตามแอมโมเนียสามารถระเหยออกมาเป็นก๊าซและอาจเป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจและดวงตาได้ โดยทั่วไปความเข้มข้นของแอมโมเนียในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนอยู่ระหว่าง 5 – 10 % น้ำหนักต่อปริมาตร

ผลกระทบของสารต่อร่างกาย


       -ผลจากการสูดดม : หากได้รับในปริมาณไม่มากอาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง แสบจมูกและลำคอ ไอหรือจาม แต่ถ้า
ได้รับในปริมาณที่สูงขึ้นอาจถึงขั้นหายใจผิดปกติ น้ำคั่งในปอดและอาจนำไปสู่การอุดตันของทางเดินหายใจได้ เด็กที่สัมผัส
ก๊าซแอมโมเนียในปริมาณเท่ากับผู้ใหญ่อาจจะได้รับผลกระทบจากแอมโมเนียมากกว่าผู้ใหญ่และอาจทำให้มีอาการที่รุนแรงกว่า เนื่องจากเด็กมีพื้นที่ผิวของปอดที่จะสัมผัสกับแอมโมเนียมากกว่าผู้ใหญ่   
    -ผลเมื่อเข้าตา : แอมโมเนียสามารถซึมซาบเข้าสู่ดวงตาและเป็นอันตรายได้มากกว่าด่างชนิดอื่น ๆ ดังนั้นเมื่อผลิตภัณฑ์ที่มีแอมโมเนียเข้าตาโดยตรงหรืออาจเป็นไอของแอมโมเนียแม้ในปริมาณต่ำ (100 ส่วนในล้านส่วน) จะทำให้เกิดการระคายเคือง เปลือกตาปิด และเป็นอันตรายต่อกระจกตาได้ หากได้รับแอมโมเนียในปริมาณมาก ๆ อาจถึงขั้นตาบอดชั่วคราวหรือถาวรได้  
     -ผลจากการสัมผัสทางผิวหนัง : ทำให้เกิดการระคายเคืองและผิวหนังอักเสบและไหม้ ซึ่งความรุนแรงขึ้นอยู่กับความแรงของแอมโมเนีย ระยะเวลาที่สัมผัส  
 -ผลเมื่อรับประทานเข้าไป : ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และในบางรายมีอาการไหม้ของปาก คอหอย หลอดอาหารและกระเพาะอาหาร ผลเมื่อรับประทานเข้าไป :



ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
ห้ามผสมผลิตภัณฑ์ที่มีแอมโมเนียเข้ากับผลิตภัณฑ์ที่มีคลอรีนเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำยาฟอกขาวโดยเด็ดขาด เนื่องจากจะเกิดปฏิกิริยาได้ก๊าซคลอรามีน (chloramine) ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากต่อระบบทางเดินหายใจ รวมถึงไฮดราซีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแอมโมเนีย หากคุณหรือคนในครอบครัวเป็นโรคหอบหืด เนื่องจากมีโอกาสได้รับผลกระทบจากแอมโมเนียมากกว่าคนปกติ ระบายอากาศในห้องหรือบริเวณที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแอมโมเนียด้วยการเปิดหน้าต่าง หรือใช้พัดลมเป่า
  • ภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์เปล่าที่ใช้หมดแล้วสามารถทิ้งลงในถังขยะได้ แต่หากจำเป็นต้องทิ้งผลิตภัณฑ์ที่ยังใช้ไม่หมดด้วยให้เจือจางด้วยน้ำปริมาณมากก่อนทิ้งภาชนะ

ที่มา http://oldweb.pharm.su.ac.th/chemistry-in-life/d030.htm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ สมัยนี้ อะไรประหยัดได้ก็ต้องประหยัดกันไป ซื้อหลอดไฟยังเลือกหลอดประหยัดไฟเลยค่ะ แต่ระวังให้ดีนะคะ หลอดประหยัดไฟ (...