วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

น้ำยาทำความสะอาดพื้น





            น้ำยาทำความสะอาดพื้นเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยมีผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดหลายยี่ห้อให้เลือกซื้อ ส่วนประกอบสำคัญซึ่งมีบทบาทในการชำระล้างคราบมันสกปรกคือสารลดแรงตึงผิว (surfactant) นอกจากนี้ยังมีการเติมสารอื่น ๆ และสารปรุงแต่ง ได้แก่ สารขจัดคราบ สารให้กลิ่นหอม และ สี เป็นต้น เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพดีและน่าใช้มากยิ่งขึ้นค่ะ



น้ำยาทำความสะอาดพื้นคืออะไร


น้ำยาล้างห้องน้ำ หมายถึง น้ำยาทำความสะอาดที่ประกอบด้วยกรด และสารลดแรงตึงผิวที่ใช้สำหรับทำความสะอาด และขจัดคราบสกปรกในห้องน้ำ 
เนื่องด้วยปัจจุบัน ห้องน้ำหรือห้องสุขาของทุกบ้านเรือนจะจะก่อสร้างขึ้นจากปูนซีเมนต์ และมักปูพื้นด้วยกระเบื้อง ซึ่งวัสดุเหล่านี้ เมื่อสัมผัสกับน้ำเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดคราบสกปรกเกิดขึ้น หากปล่อยคราบไว้นานมักขัดทำความสะอาดยาก ดังนั้น ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์สารเคมีที่สามารถช่วยขจัดคราบเหล่านั้นให้ง่ายขึ้น หรือมักเรียกทั่วไปว่า น้ำยาล้างห้องน้ำ นั่นเอง



ผลกระทบของสารต่อร่างกาย

            น้ำยาทำความสะอาดพื้นที่มี NPE เป็นส่วนผสม หากใช้ในปริมาณและความเข้มข้นที่เหมาะสมตามฉลากแนะนำจัดเป็นสารที่มีความเป็นพิษค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปแล้ว ความรุนแรงของการเกิดพิษขึ้นกับความเข้มข้น ปริมาณที่ได้รับ และทางที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย
            มีรายงานความเป็นพิษแบบเฉียบพลันของสาร NPE เช่น หากรับประทาน สูดดม หรือสัมผัสกับผิวหนังที่ความเข้มข้นสูง ๆ จะทำให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ตา และผิวหนังอย่างรุนแรง มีอาการไอ วิงเวียน หายใจหอบถี่ อาเจียน
            จากการทดสอบในสัตว์ทดลองพบว่าปริมาณสารต่ำสุดที่ทำให้หนูทดลองตายร้อยละ 50 อยู่ที่ประมาณ 1650 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม

ข้อควรระวัง
            ควรระวังการสัมผัสโดยตรงกับน้ำยาทำความสะอาดพื้นที่ยังมิได้ผ่านการผสมน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้บ้าง น้ำยาทำความสะอาดพื้นที่มีสารกลุ่มนี้ผสมอาจมีอยู่ในสัดส่วนประมาณไม่เกินร้อยละ 3 แต่ในกรณีที่มีสารอื่นผสมในผลิตภัณฑ์นั้นด้วย เช่น กรด ด่าง สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวก อาจเพิ่มความรุนแรงของอาการระคายเคืองมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะหากมีการกระเด็นเข้าตา ผู้ใช้ควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธี ข้อบ่งใช้ ข้อควรระวังและคำเตือนตามที่ระบุไว้บนฉลากของผลิตภัณฑ์
            นอกจากนี้เนื่องจากสาร NPE มีรายงานความเป็นพิษในสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น แมลง สัตว์และพืชน้ำหลายชนิด มีการสะสมตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน ดังนั้นจึงห้ามทิ้งขวดบรรจุภัณฑ์โดยตรงลงในแหล่งน้ำสาธารณะ





ที่มา http://oldweb.pharm.su.ac.th/chemistry-in-life/d030.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ สมัยนี้ อะไรประหยัดได้ก็ต้องประหยัดกันไป ซื้อหลอดไฟยังเลือกหลอดประหยัดไฟเลยค่ะ แต่ระวังให้ดีนะคะ หลอดประหยัดไฟ (...