น้ำยาล้างเล็บ
เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการกวดขันเรื่องการใช้ยาเสพติดที่เป็นสารระเหยเช่น กาว ทินเนอร์ แลคเกอร์ มากขึ้น ทำให้วัยรุ่นที่ติดสารระเหยหันมาใช้ยาทาเล็บและน้ำยาล้างเล็บ ซึ่งมีอะซีโตนเป็นองค์ประกอบหลัก หยดใส่สำลีหรือทามือแล้วสูดดมแทน เนื่องจากยาทาเล็บและน้ำยาล้างเล็บหาซื้อได้ง่ายกว่าและมีความเสี่ยงต่อการถูกจับกุมและดำเนินคดียากกว่าการดมกาว หรือ ทินเนอร์ นอกจากนี้การสูดดมอะซีโตนในความเข้มข้นสูงจะทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทและเกิดการเสพติดได้แช่นเดียวกับสารระเหยทั่วไปค่ะ
น้ำยาล้างเล็บคืออะไร
ส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำยาล้างเล็บคือ อะซีโตน โดย อะซีโตนเป็นตัวทำละลายอินทรีย์ ที่ไม่มีสี มีความเป็นพิษต่ำ ระเหยง่าย จึงมักถูกนำมาใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมและใช้ในงานด้านเภสัชกรรม โดยอะซีโตนที่มีความเข้มข้นมากกว่า 80% มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อ
ผลกระทบของสารต่อร่างกาย
เมื่อสัมผัสอะซีโตน ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้และไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง แต่ถ้าเป็นการสัมผัสกับอะซีโตนต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้ผิวแห้งและเกิดการอักเสบของผิวตามมาเนื่องจาก อะซีโตน เป็นสารที่สามารถละลายไขมัน ถ้าอะซีโตนเข้าตาจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา
การสูดดมอะซีโตนจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา เยื่อบุจมูกและเยื่อบุทางเดินหายใจ และทำให้เกิดการกดของระบบประสาทเช่นเดียวกับสารระเหย โดยการกดประสาทของอะซีโตนมีหลายระดับตั้งแต่การเปลี่ยนพฤติกรรมจนถึงการเสพติดทั้งนี้ขึ้นกับ ปริมาณอะซีโตนที่ได้รับโดยถ้าได้รับในปริมาณไม่เกิน574 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จะให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น ตื่นเต้น หงุดหงิด ถ้าได้รับในปริมาณมากถึง605 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร เป็นเวลา 5.25 ชั่วโมง ระบบประสาทจะถูกกดมากขึ้นและทำให้เกิดอาการหมดแรงอ่อนเพลียและปวดศีรษะ ถ้าได้รับในปริมาณตั้งแต่ ส่วนต่อล้านส่วน (1210 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร) ขึ้นไป เป็นเวลา 6 ชั่วโมง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ และถ้าได้รับอะซีโตนในปริมาณที่สูงมากหรือมากกว่า 29 กรัมต่อลูกบากศก์เมตร จะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ มึนงง สับสน และหมดสติ
อันตรายจากน้ำยาล้างเล็บ
ผลกระทบของสารต่อร่างกาย
เมื่อสัมผัสอะซีโตน ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้และไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง แต่ถ้าเป็นการสัมผัสกับอะซีโตนต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้ผิวแห้งและเกิดการอักเสบของผิวตามมาเนื่องจาก อะซีโตน เป็นสารที่สามารถละลายไขมัน ถ้าอะซีโตนเข้าตาจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา
การสูดดมอะซีโตนจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา เยื่อบุจมูกและเยื่อบุทางเดินหายใจ และทำให้เกิดการกดของระบบประสาทเช่นเดียวกับสารระเหย โดยการกดประสาทของอะซีโตนมีหลายระดับตั้งแต่การเปลี่ยนพฤติกรรมจนถึงการเสพติดทั้งนี้ขึ้นกับ ปริมาณอะซีโตนที่ได้รับโดยถ้าได้รับในปริมาณไม่เกิน574 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร เป็นเวลา 4 ชั่วโมง จะให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น ตื่นเต้น หงุดหงิด ถ้าได้รับในปริมาณมากถึง605 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร เป็นเวลา 5.25 ชั่วโมง ระบบประสาทจะถูกกดมากขึ้นและทำให้เกิดอาการหมดแรงอ่อนเพลียและปวดศีรษะ ถ้าได้รับในปริมาณตั้งแต่ ส่วนต่อล้านส่วน (1210 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร) ขึ้นไป เป็นเวลา 6 ชั่วโมง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ และถ้าได้รับอะซีโตนในปริมาณที่สูงมากหรือมากกว่า 29 กรัมต่อลูกบากศก์เมตร จะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ มึนงง สับสน และหมดสติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น