วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560

หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์

สมัยนี้ อะไรประหยัดได้ก็ต้องประหยัดกันไป ซื้อหลอดไฟยังเลือกหลอดประหยัดไฟเลยค่ะ แต่ระวังให้ดีนะคะ หลอดประหยัดไฟ (หลอดฟลูออเรสเซนต์, หลอดตะเกียบ) เป็นภัยเงียบ! มีอันตรายที่คุณอาจยังไม่รู้ค่ะ

หลอดฟลูออเรสเซนต์คืออะไร
งานวิจัยชิ้นหนึ่งในเยอรมันประกาศเตือนว่า หลอดประหยัดไฟประเภทหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดตะเกียบจะปล่อยไอปรอทกระจายในอากาศสูงถึง 20 เท่า ถ้าหลอดไฟแตก ก๊าซพิษจะรั่วไหลปนเปื้อนในอากาศและสิ่งแวดล้อม องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของอเมริกา (EPA) ถึงกับออกประกาศขั้นตอนการจัดการซากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่แตกอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันประชาชนจากอันตรายใกล้ตัว

ผลกระทบต่อร่างกาย

รู้หรือไม่ หลอดฟลูออเรสเซนต์อาจทำให้…

  • เวียนหัว
  • ปวดหัวแบบมาเป็นชุด ๆ เวลาเดิมทุกวัน (cluster headache)
  • ปวดไมเกรน
  • ชัก
  • อิดโรย เหนื่อยล้า
  • ไม่มีสมาธิ
  • มะเร็ง

ภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในหลอดฟลูออเรสเซนต์

  1. สารปรอท
สารปรอทมีพิษร้ายแรงต่อระบบประสาท โดยเฉพาะกับเด็กและคนท้อง พิษจะเข้าไปทำลายสมอง ระบบประสาท ตับ ไต แล้วยังทำให้หลอดเลือดหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบสืบพันธุ์มีปัญหา ส่งผลให้รู้สึกเครียด ปวดหัว ตัวสั่น นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม หนัก ๆ เข้าอาจถึงขั้นเป็นอัลไซเมอร์กันเลยทีเดียว
  1. สารก่อมะเร็ง
งานวิจัยชิ้นใหม่จากแล็บวิจัย ALAB เบอร์ลิน รายงานว่า หลอดประหยัดไฟมีส่วนประกอบที่เป็นสารก่อมะเร็งหลายตัว เช่น
ฟีนอล (phenol) – ผลึกสีขาวที่ได้จากน้ำมันดิน มีฤทธิ์กรดอ่อน มักใช้ในอุตสาหกรรมเคมีหลายประเภท เช่น ยา น้ำยาทำความสะอาด ยากำจัดศัตรูพืช สีย้อม
เนฟทาลิน (Naphthalene) – สารประกอบสีขาวที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิน มีกลิ่นฉุน ระเหิดได้ ใช้ทำลูกเหม็นและเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมเคมี เช่น สี กระดาษสำเนา
สไตริน (Styrene– สารไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นสารตั้งต้นใช้ทำกล่องโฟม
  1. รังสี UV
หลอดประหยัดไฟปล่อยทั้งรังสี UVB และ UVC ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวหนังและสายตา รังสีเหล่านี้จะไปรบกวนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้ผิวหนังชะลอการสังเคราะห์วิตามินดี 3 ถ้ามีรังสียูวีสะสมมาก ๆ อาจเป็นมะเร็งผิวหนังได้


ภัยเงียบจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์



ที่มาhttps://th.theasianparent.com/3-%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C/
ยาสูดดม


หากมีอาการวิงเวียนศรีสะหน้ามืดตาลายหลายคนอาจจะนึกถึงตัวช่วยสำคัญอย่าง ยาดม ยาหม่อง ยาหอม มันอาจมีประโยชน์อย่างมากเมื่อเราต้องการเเต่มันก็มีโทษเช่นกัน วันนี้เรามีเกล็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝากกันค่ะ

คืออะไร
 การบูรเป็นผลึกที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูรที่เกิดทั่วทั้งต้น มักอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ มีมากที่สุดในแก่น ผงการบูรเป็นเกล็ดกลมเล็กๆ สีขาวแห้ง อาจจับกันเป็นก้อนร่วนๆ แตกง่าย ทิ้งไว้ในอากาศจะระเหิดออกไปหมด
    นางสาวเสริมศรี คงศักดิ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการชี้แจ้งว่า กรมวิทยาศาสตร์ฯได้เก็บตัวอย่างยาสูดดมที่นิยมใช้สูดดมกันทั่วไปเพื่อบรรเทาอาการหวัด คัดจมูก หน้ามืดตาลาย วิงเวียนศีรษะ และใช้ทาถูบรรเทาอาการเคล็ดขัดยอก แมลงกัดต่อย ฯลฯ มาวิเคราะห์ พบว่าอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ซึ่งแพ้สารเคมีที่ใช้ผลิตได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเสพติดได้ด้วย
อันตรายจากยาดม
ยาสูดดมเป็นสารเคมีซึ่งสามารถระเหยเข้าสู่ร่างกายได้โดยผ่านช่องจมูก เพื่อช่วยบรรเทาอาการผิดปกติในระบบทางเดินหายใจและระบบประสาท และเป็นยาใช้เฉพาะภายนอกเท่านั้น ยาสูดดมมีทั้งเป็นน้ำมันสูดดม ยาสูดดมชนิดครีม และชนิดแห้ง ซึ่งมีส่วนผสมของการบูร เมนทอล เมทิลซาลิไซเลต และน้ำมันหอมระเหยอื่นๆ

นอกจากนี้อาจมีแอลกอฮอล์ หรือน้ำมันพาราฟินช่วยทำให้ตัวยาเจือจางลง และเพิ่มความคงทนของกลิ่นได้ ยาสูดดมสามารถใช้ประโยชน์ในทางยา แต่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้ เช่น อาการแพ้สารเคมีพวกการบูรและเมนทอล ซึ่งทำให้เกิดอาการคันผื่นแดงบริเวณผิวหนังที่สัมผัส และเกิดโรคผิวหนังติดเชื้อหรือเป็นอันตรายต่อระบบการหายใจ ถ้าใช้กับเด็กทารกที่มีอาการหวัด อาจทำให้เด็กหายใจไม่ออก และอาจถึงช็อกได้

นอกจากอันตรายที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยาสูดดมยังอาจทำให้เกิดการเสพติดได้ โดยที่สารเคมีที่ใช้ผลิตบางชนิด เช่น การบูร ซึ่งเป็นสารกระตุ้นในระบบประสาทจะทำให้เกิดการเสพติด ดังนั้นการใช้ยาสูดดมระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ และไม่ควรสูดดมต่อกันเป็นเวลานาน หรือหากมีอาการผิดปกติควรเลิกใช้ทันทีและรีบปรึกษาแพทย์ อนึ่ง เนื่องจากยาสูดดมนี้อาจเกิดอันตรายกับเด็กได้ ดังนั้นควรเก็บรักษาไว้ให้ห่างมือเด็กด้วย


อันตรายจากยาดม



                                 ที่มา  https://www.doctor.or.th/article/detail/5209

วันอังคารที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2560

สเต๊ก 



คุณรู้หรือไม่ว่าการจะรับประทานสเต๊กได้อย่างปลอดภัยนั้นต้องนำมาทำให้สุกเสียก่อน แต่ความสุกของสเต๊กนั้นมีอยู่ 5 ระดับ ตรงนี้แหละคือประเด็นสำคัญ เพราะความร้อนจะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่แฝงมากับเนื้อสัตว์ได้ค่ะ

สเต๊กคืออะไร
สเต๊ก  คือชิ้นส่วนขนาดใหญ่ของเนื้อโดยเฉพาะเนื้อวั ในปัจจุบันเนื้อเเดงอื่นๆ และปลานิยมตัดมาทำสเต๊ก เนื้อสเต๊กจะตัดตั้งฉากกับเอ็นของเนื้อเพื่อคงความนุ่มของเนื้อไว้ สเต๊กสามารถกินได้ในลักษณะย่าง ทอด หรือ ต้ม ราคาของสเต๊กจะค่อนข้างสูงเปรียบเทียบกับเนื้อส่วนอื่น ซึ่งการกินสเต๊กยังคงแสดงถึงความร่ำรวยในบางวัฒนธรรม


ผลกระทบต่อร่างกาย
 ความปลอดภัยลดหลั่นกันไปในแต่ละระดับ อย่างระดับที่ 1 ซึ่งเราจะเรียกว่า แรร์ (rare) เป็นระดับที่ถือว่าเสี่ยงต่อสุขภาพมากที่สุด เมื่อรับประทานเข้าไปก็อาจจะก่อให้เกิดโรคพยาธิ และโรคเกี่ยวกับระบบการย่อยและทางเดินอาหารได้ เพราะระบบการย่อยของร่างกายคนเราไม่สามารถที่จะย่อยอาหารดิบ ๆ ได้ง่าย ซึ่งกว่าร่างกายจะขับออกมาก็คงต้องใช้เวลาประมาณ 2 วัน คิดดูแล้วกันว่าร่างกายคุณจะทำงานหนักแค่ไหน ส่วนระดับ 2 ที่เรียกว่า มีเดียมแรร์ (medium rare) ระดับนี้จะสุกขึ้นมาหน่อย และระดับ 3 ที่เรียกว่า มีเดียม (medium) ซึ่งเป็นระดับที่สุกมากยิ่งขึ้นแต่ก็ยังดิบอยู่ คุณก็ยังคงเสี่ยงกับพยาธิและเชื้อโรคอยู่ดี ส่วนในระดับ 4 หรือ มีเดียมเวลล์ (medium well) โดยรวมแล้วระดับนี้เนื้อจะเริ่มสุกเกือบทั้งหมด ความปลอดภัยจะมีมากขึ้นมาหน่อย แต่ก็ยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเสี่ยงกับระดับเหล่านี้ แต่ควรหันมารับประทานในระดับ 5 หรือ เวลล์ดัน (well don) แทน เพราะในระดับนี้เนื้อจะสุกทุกส่วนแล้ว และถือว่าเป็นระดับที่ปลอดภัยต่อร่างกายมากที่สุด แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่ดี เพราะขึ้นชื่อว่าอาหารย่าง ยังไงมันก็ก่อให้เกิดโรคกับคุณได้อยู่ดี เพราะฉะนั้นหากคุณอยากรับประทานสเต๊กก็ควรเลือกระดับที่ 5 และที่สำคัญไม่ควรรับประทานบ่อยมากนัก เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้

ที่มาhttps://medthai.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2/

วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

เนื้อวัว / เนื้อหมู / เนื้อไก่ / เนื้อปลา 




ความจริงแล้วมนุษย์เราเป็นสัตว์กินพืชมาแต่ไหนแต่ไร ร่างกายจึงถูกออกแบบมาให้รองรับอาหารประเภทพืชผักผลไม้มากกว่าเนื้อสัตว์ แต่ใครจะสนใจ…ก็ในเมื่อเนื้อสัตว์ที่เรารับประทานอยู่นั้นอร่อยกว่าเห็น ๆ นั่นแหละคือสาเหตุของปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่ตามมามากมาย 
                           
คืออะไร

นื้อสัตว์นั้นเป็นอาหารอันตรายที่เราอาจคาดไม่ถึง เพราะพวกมันเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยมของมนุษย์และเซลล์มะเร็ง และมีสารพิษต่าง ๆ มากมายที่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย คุณรู้หรือไม่ว่าเนื้อสัตว์ที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันนี้มันมีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายอยู่มากแค่ไหน 


ผลกระทบต่อร่างกาย

 สารเร่งเนื้อแดง สาเหตุของโรคหัวใจ, ยาปฏิชีวนะประเภทคลอแรมแฟนิคอล (Chloramphenicon) และยาในกลุ่มไนโตรฟูแลม (Nitrofurams) ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีสารเคมีอื่น ๆ อีกมากมายที่เกิดขึ้นเองจากสัตว์ขณะที่พวกมันกำลังถูกฆ่า ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งด้วยเช่นกัน และเรื่องที่น่าตกใจกว่านั้นก็คืออาหารหลักคนกลุ่มที่บริโภคเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียวนั้นจะมีอายุสั้นมากจนน่าตกใจ อย่างชาวเอสกิโมที่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นก็มีอายุเพียง 27 ปีเท่านั้น !! ในทางกลับกันกลุ่มคนที่บริโภคแต่พืชผักผลไม้อย่างเดียว ล้วนมีอายุเฉลี่ยที่ยืนยาวราว 110 ปี !! คราวนี้คุณพอจะเห็นถึงความแตกต่างของการบริโภคขึ้นมาบ้างแล้วหรือยัง 




อันตรายจากสารตกค้างในเนื้อสัตว์



ที่มาhttps://medthai.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2/
อาหารกึ่งสำเร็จรูป




 คุณอาจจะตกใจถ้ารู้ว่ามีอะไรแฝงตัวอยู่ในอาหารสำเร็จรูปที่คุณรับประทาน มาทำความรู้จักกับมันสักหน่อยดีกว่าค่ะ

อาหารกึ่งสำเร็จรูปคืออะไร
อาหารที่ผ่านกรรมวิธี และปรุงแต่งมาบ้างแล้ว สามารถรับประทานหลังจากผ่านการปรุงง่าย ๆ และใช้เวลาสั้น เช่น เติมน้ำร้อน



ผลกระทบต่อร่างกาย
 คุณอาจจะตกใจถ้ารู้ว่ามีอะไรแฝงตัวอยู่ในอาหารสำเร็จรูปที่คุณรับประทาน มาทำความรู้จักกับมันสักหน่อยดีกว่า นั่นก็คือ แบคทีเรีย ยีสต์ รา และหนอนพยาธิ ถ้าคุณชอบหมูยอ กุนเชียง ปลาป่น และปลากระป๋องแล้วล่ะก็ คุณได้พบกับพวกมันแน่ ๆ ร่างกายของคุณก็จะเกิดการเจ็บป่วยในระบบทางเดินอาหาร นอกจากเชื้อจุลินทรีย์แล้ว สารเคมีต่าง ๆ ก็มีอยู่ในอาหารกึ่งสำเร็จรูปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีที่ใช้ในการปรุงแต่งสี รสชาติ กลิ่น และสารเคมีที่ใช้ในการถนอมอาหาร ซึ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น เพราะก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายผิดปกติ




                              อันตรายจากอาหารกึ่งสำเร็จรูป




 ที่มาhttps://medthai.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2/

วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560


น้ำมันที่ใช้ทอดซ้ำ
 

หากไปดูตามตลาดก็คงเห็นพ่อค้าแม่ค้าที่ทอดปาท่องโก๋ ทอดไก่ กล้วยแขก ฯลฯ จะเห็นว่าน้ำมันที่ใช้ทอดซ้ำมีสีดำ บางทีอาหารที่ซื้อมาก็มีคราบน้ำมันดำเปื้อนอยู่ ผู้บริโภคไม่ควรยอมรับให้เป็นวัฒนธรรมในสังคมอาหาร ควรตระหนักถึงโทษของน้ำมันทอดซ้ำต่อสุขภาพค่ะ


จากการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา สำรวจตัวอย่างน้ำมันทอดจากร้านแผงลอย และรถเข็น ได้แก่ น้ำมันทอดปาท่องโก๋ น้ำมันทอดเต้าหู้ น้ำมันทอดไก่ น้ำมันทอดลูกชิ้น/ทอดมัน และน้ำมันทอดกล้วย/มัน/เผือก จำนวน 187 ตัวอย่าง น้ำมันทอดอาหารจากร้านอาหารจานด่วน จำนวน 64 ตัวอย่าง และน้ำมันทอดบะหมี่จากโรงงานอุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จำนวน 3 ตัวอย่าง พบน้ำมันที่ทอดซ้ำเสื่อมคุณภาพ และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพถึงร้อยละ 13






น้ำมันพืชคืออะไร

น้ำมันที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ
      1. น้ำมันจากไขมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู และน้ำมันวัว เป็นต้น ซึ่งมีกรดไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง
      2. น้ำมันพืช แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
            2.1 น้ำมันพืชชนิดที่เป็นไขเมื่อนำไปแช่ตู้เย็น หรือถูกอากาศเย็น น้ำมันพืชชนิดนี้จะประกอบไปด้วย กรดไขมันอิ่มตัวผสมอยู่ในปริมาณมาก ได้แก่ น้ำมันปาล์มโอเลอิน น้ำมันมะพร้าว ซึ่งข้อเสีย คือ ทำให้โคเลสเตอรอลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด และหัวใจ แต่ก็มีข้อดีคือ น้ำมันชนิดนี้จะทนความร้อน ความชื้น และออกซิเจน ไม่เหม็นหืนง่าย เหมาะที่จะใช้ทอดอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูงนานๆ เช่น ปลาทั้งตัว ไก่ หมู หรือเนื้อชิ้นใหญ่ๆ
            2.2 น้ำมันพืชชนิดที่ไม่เป็นไขเมื่ออยู่ในที่เย็น น้ำมันพืชชนิดนี้ประกอบด้วย ไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในปริมาณที่สูง ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันฝ้าย ไขมันชนิดนี้ย่อยง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้ในการสร้างเซลล์ต่างๆ จึงเหมาะสมกับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต และยังช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือด ผู้ที่มีปัญหาโคเลสเตอรอลในเลือดสูงจึงควรเลือกใช้น้ำมันชนิดนี้ แต่ข้อเสียของน้ำมันชนิดนี้คือ ไม่ค่อยเสถียรจึงแตกตัวให้สาร polar ซึ่งทำให้น้ำมันเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็นหืน ซึ่งสาร polar นี้ ทำให้เป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร ทำให้ตับเสื่อมได้ ใช้ทอดอาหารได้ไม่นาน จึงเหมาะกับที่จะใช้ผัดอาหาร หรือทอดเนื้อชนิดบาง ๆ เช่น หมูแฮม หมูเบคอน

การเสื่อมสภาพของน้ำมันจากการทอดซ้ำ
      อาจดูได้ด้วยสายตา น้ำมันทอดซ้ำที่เสื่อมคุณภาพ จะมีลักษณะ หนืดข้นผิดปกติ มีสีดำ เกิดฟองมาก มีกลิ่นเหม็นไหม้ เกิดควันมากขณะทอด น้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารจะเสื่อมคุณภาพ เมื่อถูกความร้อนสูง และมีความชื้น จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เกิดสาร polar (Polar compounds) เครื่องปรุงต่างๆ และเกลือ ยิ่งเป็นการเร่งให้เกิดสาร polar เพิ่มขึ้น น้ำมันปรุงอาหารใหม่ จะมีสาร polar อยู่ระหว่าง 3 - 8 %

ผลกระทบต่อสุขภาพ

      ทำให้เกิดการเจริญเติบโตลดลง ตับ และไตมีขนาดใหญ่ มีการสะสมไขมันในตับ การหลั่งน้ำย่อยทำลายสารพิษในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นไขมันที่ถูก oxidized ปริมาณสูงอาจทำให้ lipoprotein ชนิด LDL มีโอกาสเกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดได้
      ส่วนไอระเหยจากน้ำมันทอดอาหาร หากสูดดมเป็นระยะเวลานานอาจมีอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากพบความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคมะเร็งที่ปอด
   
      มีการทดลองในต่างประเทศเพื่อหาเปอร์เซ็นต์การดูดซับน้ำมันทอดเฟรนช์ฟรายจากน้ำมันพืชชนิดต่างๆ พบว่า เฟรนช์ฟรายจะดูดซับน้ำมันโดยเฉลี่ยประมาณ 10% และพบว่าปริมาณสาร polar (Total Polar Material, TPM) ที่พบในน้ำมันที่ใช้ทอดจะสะท้อนถึงปริมาณสาร polar ในน้ำมันที่ถูกดูดซับในอาหาร
      เมื่อคำนึงถึงปริมาณสาร polar ในน้ำมันที่ใช้ทอด จากการสำรวจพบว่าหากเป็นการบริโภคในบ้านเรือนการใช้น้ำมันทอดซ้ำ 2 - 3 ครั้งถือว่าค่อนข้างปลอดภัย เนื่องจากไม่มีน้ำมันพืชชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการสำรวจมีปริมาณสาร polar เกินขีดจำกัด ที่มีอันตรายต่อสุขภาพ (25 - 27 %) ส่วนการบริโภคในร้านอาหาร และอาหารจานด่วนทั้งหลาย พบว่า ค่อนข้างอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากพบปริมาณสาร polar มากกว่า 25 % ในตัวอย่างอาหารค่อนข้างมาก
      
      ดังนั้น การรับประทานอาหารที่มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำ หรือในน้ำมันที่ใช้ทอดมีปริมาณสาร polar เกินกว่า 25 % จะก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อร่างกาย อาทิเช่น ทำให้เกิดโรคหัวใจ ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งตับ และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

                อันตรายจากน้ำมันพืชที่ทอดซ้ำ



 น้ำตาล


น้ำตาล ถึงแม้จะมีรสชาติหวาน แต่ก็ส่งผลร้ายกับร่างกายได้มากมายจนคาดไม่ถึง ใครที่ติดใจรสชาติหวานของน้ำตาลละก็ ควรรู้เป็นอย่างยิ่ง


          ขึ้นชื่อว่าน้ำตาล เป็นใครก็คงชอบ เพราะน้ำตาลทำให้อาหารมีรสชาติอร่อย ถูกลิ้นคนทั่วไปที่ชอบความหวานเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าน้ำตาลถึงแม้จะให้รสหวาน และให้พลังงานกับร่างกายได้บางส่วนก็ตาม แต่ก็ส่งผลเสียกับร่างกายมากมายเลยเชียวละค่ะ 

เผื่อว่าใครที่กำลังติดของหวานจะได้ระมัดระวังสุขภาพกันให้มากขึ้นนะคะ 


ผลกระทบต่อร่างกาย

-ทำให้เกิดไขมันสะสมในอวัยวะต่าง ๆ 

          ฟรุคโตส (Fructose) เป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำตาลทรายและน้ำเชื่อมข้าวโพด ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ตับสะสมไขมันไว้ตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมากขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปนานวันเข้า อาจจะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ (Non-alcoholic fatty liver disease) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคตับอักเสบและโรคตับแข็งในอนาคตได้

เป็นสาเหตุหลักของโรคเบาหวาน

          การศึกษาจากองค์กร PLOS ONE พบว่า ในทุก ๆ 150 แคลอรี่จากน้ำตาลที่คนได้รับเพิ่มขึ้นจากที่ควรได้รับในแต่ละวัน สามารถก่อให้เกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 1.1% ดังนั้นการควรบริโภคน้ำตาลให้พอดีกับความต้องการของร่างกายก็เพียงพอแล้วค่ะ 

-เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด

          สมาคมโรคเบาหวานอเมริกาได้เปิดเผยว่าน้ำตาลไม่ใช่ทำให้เป็นโรคเบาหวานอย่างเดียว แต่เชื่อมโยงกับโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย โดยพบว่าโรคหัวใจกลับเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในผู้ป่วยเบาหวานระยะที่ 2 ซึ่งคิดเป็น 65% ของอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมดที่เสียชีวิต
-การไหลเวียนของเลือดปั่นป่วน

          การบริโภคน้ำตาลที่มากจนเกินไป จะทำให้อินซูลินในร่างกายผลิตออกมามากเกินไปจนตกค้างอยู่ในกระแสเลือด ซึ่งมีผลต่อระบบการไหลเวียนเลือด ซึ่งถ้าหากเป็นเรื้อรังก็จะส่งผลให้เซลล์กล้ามเนื้อเรียบบริเวณรอบ ๆ หลอดเลือดเจริญเร็วขึ้นกว่าปกติ และทำให้การไหลเวียนของเลือดเกิดการปั่นป่วนจนเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงรวมทั้งความเสี่ยงโรคหลอดเลือดต่าง ๆ ก็จะเพิ่มขึ้นอีกด้วย

-เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี 

          การศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ the American of Medical Association พบว่า น้ำตาลและระดับคอเลสเตอรอลมีความเชื่อมโยงกัน โดยผู้ที่บริโภคน้ำตาลมากจะมีระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีและไขมันอันตรายอย่างไตรกลีเซอไรด์ในระดับที่สูงกว่าคนที่ทานน้ำตาลน้อย แต่กลับมีคอเลสเตอรอลชนิดดีในปริมาณที่ต่ำ นั่นก็เพราะน้ำตาลเป็นตัวกระตุ้นให้ตับผลิตคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดีมากขึ้น และยังไปยับยั้งความสามารถในการกำจัดคอเลสเตอรอลชนิดนี้ออกจากร่างกายอีกด้วย
เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 3

          Suzanne de la Monte นักประสาทวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ ได้ค้นพบ โรคเบาหวานชนิดที่ 3 เป็นครั้งแรกหลังจากได้วิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างภาวะดื้อต่ออินซูลินกับอาหารที่มีไขมันสูงและโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งการศึกษาได้เปิดเผยให้เห็นว่า โรคอัลไซเมอร์คือโรคที่เกี่ยวกับเมตาบอลิกชนิดหนึ่งที่ทำให้ความสามารถในการดึงกลูโคสมาใช้และผลิตพลังงานให้แก่สมองเกิดความเสียหาย จนคล้ายกับการเป็นโรคเบาหวานขึ้นสมองนั่นเอง

-ทำให้เกิดการเสพติด
          น้ำตาลเปรียบเสมือนยาเสพติดที่มีรสหวาน ซึ่งน้ำตาลเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะให้สมองหลั่งสารความสุข ที่เรียกว่าโอปิออยด์ (Opioid) และ โดพามีน (Dopamine) ออกมา ซึ่งเป็นสารที่จะมีในยาเสพติดทั่วไป โดยมีการทดลองกับหนูพบว่า หนูที่เสพติดน้ำตาลเมื่อเกิดความอยากน้ำตาลจะมีอาการปากสั่น ตัวสั่น วิตกกังวล เหมือนกับเวลาที่ต้องการยาเสพติด 

-ทำให้คุณกินไม่หยุด

          น้ำตาลทำให้คุณรู้สึกหิวได้ มีการวิจัยหนึ่งแสดงให้เห็นว่าการรับประทานน้ำตาลมากเกินไปจะทำให้คุณรู้สึกหิวมากขึ้นและไม่รู้สึกอิ่ม ซึ่งจะทำให้น้ำหนักขึ้นและเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และทำให้ฮอร์โมนเลปติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาเมื่อรู้สึกอิ่ม ลดน้อยลงอีกด้วย 


-ทำให้คุณอยากกินของหวานมากขึ้น

          การที่คุณหยิบของหวานขึ้นมารับประทานทุกครั้งที่รู้สึกอ่อนล้า เพราะคิดว่ามันช่วยเพิ่มพลังได้ นั่นเป็นวิธีที่ผิดมหันต์เลยค่ะ เพราะน้ำตาลนั้นจะสามารถทำให้มีแรงเพิ่มขึ้นได้เพียง 30 นาทีเท่านั้นและยังจะทำให้คุณรู้สึกต้องการน้ำตาลเพิ่มขึ้น นอกจ่ากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าน้ำตาลยังทำให้เกิดการหลั่งของสารเซโรโทนินมากขึ้นซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกง่วงนอนแทนที่จะมีแรงมากด้วยค่ะ

-ทำให้อารมณ์แปรปรวน 

          แม้ว่าการกินน้ำตาลจะทำให้รู้สึกดีขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปผลที่ตามมาก็ไม่ได้ดีอย่างที่คิดค่ะ เพราะมีการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Public Health Journal ซึ่งติดตามผลจากคนกว่า 9,000 คน พบความเชื่อมโยงระหว่างภาวะซึมเศร้ากับการรับประทานน้ำตาลและอาหารฟาสต์ฟู้ด ว่า ผู้ที่รับประทานอาหารขยะติดต่อกัน 6 ปี เกือบ 40% มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเป็นโรคซึมเศร้า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารขยะซ้ำยังเกิดภาวะดื้ออินซูลินและสมองยังหลั่งสารโดปามีน (dopamine) ซึ่งเป็นสารความสุขน้อยลงอีกด้วย

-ทำให้ผิวพรรณเหี่ยวย่น

          น้ำตาลเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดแล้วก็จะไปเกาะหรือไปจับกับเส้นใยโปรตีนในร่างกาย แล้วเปลี่ยนเป็นโมเลกุลใหม่ที่ชื่อ AGEs (Advanced Glycation End-products) ซึ่งโมเลกุล AGEs นี้จะไปทำลายโปรตีนที่ชื่อว่าคอลลาเจนและอิลาสติกซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้ผิวกระชับและมีความยืดหยุ่น เมื่อโปรตีนเหล่านี้ถูกทำลายไปก็จะทำให้ผิวเหี่ยวย่นและหย่อนคล้อยก่อนวัยค่ะ

   



                       ที่มา https://health.kapook.com/view98727.html

สารเคมีไล่แมลง



       N,N-diethyl-m-toluamide หรือชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า DEET จัดเป็นสารเคมีที่ใช้ไล่แมลง โดยเฉพาะยุง ชนิดทาหรือพ่นลงบนผิวหนังของผู้ใช้ DEET ถูกพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 โดยกองทัพสหรัฐอเมริกาสำหรับทหารที่ต้องสู้รบในป่าเพื่อป้องกันแมลงกัดต่อยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปัจจุบันมีการใช้ DEET อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์สำหรับไล่ยุงในรูปแบบต่างๆ เช่น โลชัน ครีม เจล สเปรย์ ในปริมาณความเข้มข้นระหว่าง 4-100% 




ความเป็นพิษ

          หากผู้ใช้ปฏิบัติตามข้อแนะนำการใช้บนฉลากแล้ว DEET จัดว่ามีพิษน้อยต่อผู้ใช้ โดยอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ ต่อตา หรือผิวหนัง เป็นต้น  หากได้รับ DEET ในปริมาณมาก (40-95%) โดยการกินเข้าไป อาจทำให้เกิดการกดประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการความดันโลหิตต่ำ และชักได้




Arsenic หรือสารหนู 





เป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้เป็นมะเร็งผิวหนัง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้อีกหลายอย่าง รวมทั้งทำให้เกิดปัญหากับต่อมไร้ท่อ รบกวนการทำงานของเอสโตรเจร โปรเจสเตอโรน รวมทั้งฮอร์โมนเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญอาหาร และระบบภูมิคุ้มกันโรค สารหนูนี้ มีอยู่ทั้งในน้ำและอาหาร ทั้งเนื้อสัตว์ และผลไม้อย่างแอปเปิล และองุ่น ที่อยู่ในฟาร์มซึ่งไม่มีคุณภาพ ดังนั้น แนวทางในการหลีกเลี่ยงก็คือ กรองน้ำผ่านระบบการกรองที่ได้มาตราฐาน เลือกรับประทานอาหารจากแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ หรืออาหารออแกนนิค

สารหนูคืออะไร

สารหนูเป็นแร่ธาตุที่พบในธรรมชาติคือ ในดิน ถ่านหิน และในน้ำ โดยปะปนอยู่กับแร่อื่น เช่น ดีบุก วุลแฟรม อลูมิเนียม  มนุษย์นำสารหนูมาใช้เป็นเวลานานมาแล้ว ตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน โดยนำมาใช้เป็นยารักษาโรค ต่อมาเมื่อมีความรู้มากขึ้นก็นำมาใช้ในอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ทางอุตสาหกรรมใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแก้วและกระจก อุตสาหกรรมป่าไม้  โดยผสมในยารักษาเนื้อไม้กำจัดเชื้อราและใช้เป็นปุ๋ยทางเกษตรกรรมใช้เป็นยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช และยาเบื่อหนู ส่วนในรูปของยารักษาโรค เคยใช้กันแพร่หลายในสมัยต้นศตวรรษที่ ๑๙ โดยใช้รักษาโรคผิวหนังชนิดเรื้อรังและโรคหืด โดยทำเป็นยาน้ำมีชื่อเป็นที่รู้จักว่า “น้ำยาฟาวเร่อ” ใช้กิน ยาโอซาลวาซานรักษาซิฟิลิสและคุดทะราด ต่อมาพบว่าผู้ที่ได้รับยาดังกล่าวเกิดมีอาการแทรกซ้อนขึ้นเนื่องจากพิษสารหนู  ความนิยมในการใช้ยาที่ผสมสารหนูจึงน้อยลงทุกทีจนเลิกไปในที่สุด จะมีที่ใช้อยู่บ้างก็เป็นส่วนผสมในยาแผนโบราณที่เรียกว่า ยาต้ม ยาหม้อ ทั้งหมอไทยและหมอจีนแผนโบราณยังนิยมผสมสารหนูลงไปในยาต้มครอบจักรวาลโดยอ้างสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง รักษาโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง ฯลฯ ซึ่งชาวบ้านยังมีความเชื่อว่าแพทย์แผนโบราณอาจช่วยให้โรคเหล่านี้หายขาดได้ เนื่องจากสารหนูมีสรรพคุณลดอาการอักเสบได้ เพราะฉะนั้นเมื่อได้รับเข้าไปในตอนต้นๆ อาการของโรคจะดีขึ้น อีกทั้งช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร ผู้ที่ได้รับยาที่ผสมสารหนูเข้าไปเมื่อเห็นว่าโรคทุเลาลง อาการดีขึ้น ก็เข้าใจว่ายาดี แล้วกินต่อไปอีกด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์


อาการพิษจากสารหนูเกิดได้ในสองกรณีคือ
  • อาการเป็นพิษแบบเฉียบพลัน
  • อาการเป็นพิษเรื้อรัง
อาการพิษเฉียบพลันจะพบเมื่อผู้ป่วยได้รับสารหนูขนาดสูงเพียงครั้งเดียว เช่น กินยาผิดหรือในรายที่ใช้ยาเบื่อหนูหรือยาฆ่าแมลงเป็นยาฆ่าตัวตาย โดยการดื่มเข้าไปเป็นปริมาณมาก กรณีเช่นนี้จะเกิดอาการร้อนปาก ร้อนท้อง ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก ความดันโลหิตตก เม็ดเลือดแดงแตกจนไตวาย หมดสติ และถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าไม่เสียชีวิตในเวลาสั้นก็อาจพบอาการทางผิวหนัง เป็นแผลพุพองลอกเป็นแผ่นทั่วตัว มีผมร่วงจนหมดศีรษะในเวลาต่อมา

ส่วนอาการเป็นพิษเรื้อรังพบบ่อยกว่าชนิดเฉียบพลันเพราะไม่ใช่อุบัติเหตุแต่ค่อยๆเป็น โดยผู้ที่ได้รับสารพิษไม่รู้สึกตัวและกว่าจะเกิดอาการหลังจากได้รับยาเป็นเวลานานมาแล้ว  อาจนานถึง ๕-๑o ปี บางครั้งผู้ป่วยเองแทบไม่เชื่อว่าโรคที่เกิดขึ้นเป็นผลจากยาซึ่งเคยกินมาเมื่อ ๑o ปีก่อน แล้วเพิ่งจะมาออกฤทธิ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้าๆ อาการพิษเกิดได้กับอวัยวะและตับ ระบบไต ระบบประสาท  และผิวหนัง เนื่องจากผิวหนังเป็นอวัยวะที่ผู้ป่วยเห็นได้ด้วยตัวเองก่อนอาการอื่น จึงเป็นส่วนสำคัญที่นำผู้ป่วยมาหาแพทย์หรือแพทย์ตรวจพบเมื่อผู้ป่วยมาหาด้วยอาการทางระบบอื่น กล่าวคือ ผิวหนังของผู้ได้รับพิษสารหนูเรื้อรังจะเกิดผิวสีคล้ำลงเป็นสีดำ มีหน้าดำ มีจุดดำขึ้นตามฝ่ามือและลำตัว ลักษณะของจุดดำกระจายทั่วไปมีสลับด้วยจุดขาว ทำให้เห็นผิวดำๆด่างๆ ที่ฝ่ามือฝ่าเท้าจะมีตุ่มแข็งๆ เกิดขึ้นเนื่องจากเซลล์ที่ผิวหนังหนาตัวขึ้น ตุ่มนูนเหล่านี้เริ่มเป็นใหม่ๆ จะมีขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด ต่อมาขยายขนาดโตขึ้นหลายๆตุ่ม อาจรวมกันเป็นปื้นใหญ่แข็งและหนา เป็นสีน้ำตาล ตุ่มเหล่านี้ต่อไปอาจมีการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นมะเร็งของผิวหนัง ขณะเดียวกันมะเร็งผิวหนังก็อาจเกิดขึ้นบริเวณลำตัวที่ด่างดำได้อีกด้วย สำหรับอาการทางระบบอื่นได้แก่ ร่างกายทรุดโทรม ผอม ซีด เบื่ออาการ อ่อนเพลีย มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า อาการรุนแรงขั้นต่อไปคือเกิดเป็นมะเร็งของอวัยวะภายใน เช่น หลอดลม ปอด กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ

                                        ที่มา https://www.doctor.or.th/article/detail/3952

อะฟลาท็อกซิน สารปนเปื้อนในอาหาร






          องค์การอนามัยโลก จัดให้สารอะฟลาท็อกซินเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะว่าปริมาณของอะฟลาท็อกซินเพียง 1 ไมโครกรัม ก็สามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรีย และทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้หากได้รับอย่างต่อเนื่อง ความเป็นพิษของสารอะฟลาท็อกซินบี 1 จะมีพิษสูงสุด รองลงมาได้แก่ บี 2 จี 1 และ จี 2 ตามลำดับ อะฟลาท็อกซินเป็นสารก่อมะเร็งที่ตับและอวัยวะอื่น ๆ เช่น ไต ระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิคุ้มกัน 

  อะฟลาท็อกซินคืออะไร
         อะฟลาท็อกซิน เป็นสารพิษชนิดหนึ่งที่มักพบปนเปื้อนอยู่ในอาหารจำพวกถั่วลิสง ข้าวโพด พริกแห้ง กระเทียม เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ เมล็ดฝ้าย ข้าวฟ่าง และมันสำปะหลัง เป็นต้น อะฟลาท็อกซินเป็นสารเคมีที่สร้างขึ้นจากเชื้อรา ซึ่งมีสีเขียวแกม หรือสีเหลืองอ่อน สารอะฟลาท็อกซินที่ตรวจพบในธรรมชาติมี  4  ชนิดคืออะฟลาท็อกซินบี 1 บี 2 จี 1 และ จี 2 โดยเชื้อ Asp. flavus ผลิตสารอะฟลาท็อกซินบี 1 และ บี 2 และเชื้อ Asp. parasiticus ผลิตอะฟลาท็อกซินบี 1 บี 2 จี 1 และ จี 2 เชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้พบได้ทั่วไปในอาหาร และผลผลิตทางการเกษตร โดยเชื้อราชนิดนี้เติบโตได้ดีในอากาศร้อน และมีความชื้นอยู่ด้วย อะฟลาท็อกซินที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งตับในสัตว์ทดลองหลายชนิด โดยพบว่าอะฟลาท็อกซินก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของยีนต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่โรคมะเร็งตับ และอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งตับในมนุษย์ จากการเปรียบเทียบความรุนแรงของสารพิษจากเชื้อราขององค์การอนามัยโลก พบว่าอะฟลาท็อกซินจัดอยู่ในระดับรุนแรงที่สุด โดยเฉพาะชนิดบี 1 จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์และเป็นสาเหตุของมะเร็งตับ และจากการศึกษาในประเทศจีนและแอฟริกา พบว่าผู้ที่ตรวจพบอะฟลาท็อกซินในปัสสาวะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง 3.8 เท่า และถ้ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ด้วย ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็น 12.5 เท่า แสดงว่าอะฟลาท็อกซินมีความสัมพันธ์กับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และเชื่อว่าไวรัสตับอักเสบบี เป็นตัวนำของการเกิดมะเร็งตับ และอะฟลาท็อกซินเป็นตัวเสริมในขั้นตอนสุดท้าย



ความเป็นพิษของอะฟลาท็อกซิน

          พิษของสารอะฟลาท็อกซินแบบเฉียบพลันนั้นมักเกิดในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่อาการที่เกิดจากสารอะฟลาท็อกซินในเด็ก คล้ายคลึงกับอาการของเด็กที่เป็น Reye’s syndrome คือ มีอาการชักและหมดสติได้ เนื่องจากมีความผิดปกติของตับและสมอง น้ำตาลในเลือดลดลง สมองบวม มีการคั่งของไขมันในอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต หัวใจ และปอด บางครั้งมีการตรวจพบสารอะฟลาท็อกซินในตับผู้ป่วยด้วย สำหรับในผู้ใหญ่หากได้รับสารพิษชนิดนี้เข้าไปเป็นจำนวนมาก หรือแม้เป็นจำนวนน้อยแต่ได้รับเป็นประจำ อาจเกิดการสะสมจนทำให้เกิดอาการชัก หายใจลำบาก ตับถูกทำลาย หัวใจและสมองบวม นอกจากนั้นการที่ร่างกายได้รับสารพิษอะฟลาท็อกซินเป็นประจำยังเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับ การเกิดไขมันมากในตับ และพังพืดในตับ สำหรับอาการที่แสดงออกเมื่อสัตว์ต่าง ๆ เช่น ไก่ หมู วัว ได้รับอะฟลาท็อกซิน คือ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีน้ำไหลออกจากจมูก ดีซ่าน ตกเลือดตาย
          ความเป็นพิษของสารอะฟลาท็อกซินจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ปริมาณที่ได้รับ และความถี่ที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย, อายุ และเพศ, การทำงานของเอนไซม์ในตับของแต่ละบุคคล รวมถึงภาวะทางโภชนาการอื่น ๆ เช่น อาหารที่รับประทานหรือการได้รับการรักษาด้วยยาบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมของอะฟลาท็อกซิน


อาหารที่พบการปนเปื้อนของสารอะฟลาท็อกซิน

          อาหารที่จำหน่ายในปัจจุบันนี้ที่มักพบว่ามีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน ได้แก่ อาหารจำพวกแป้ง  และผลิตภัณฑ์จากแป้ง เช่น  แป้งข้าวสาลี แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง แป้งท้าวยายม่อม อาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วลิสง เช่น ถั่วลิสงคั่วที่ใช้ปรุงอาหาร เนยถั่วลิสง กากถั่วลิสง น้ำมันถั่วลิสง นอกจากนั้นยังพบปนเปื้อนอยู่ในข้าวโพด มันสำปะหลัง อาหารแห้ง เช่น ผัก ผลไม้อบแห้ง ปลาแห้ง กุ้งแห้ง เนื้อมะพร้าวแห้ง พริกแห้ง พริกไทย งา เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วอื่นๆ อะฟลาท็อกซินบี 1 มีความสำคัญมากที่สุดสำหรับประเทศที่มีอากาศร้อนและชื้นเช่นประเทศไทย ตรวจพบบ่อยในอาหารประเภทพืชน้ำมันโดยเฉพาะถั่วลิสง ข้าวโพด งา เครื่องเทศ และอาหารแห้งอื่นๆ
          อะฟลาท็อกซินมักปนเปื้อนในถั่วลิสง ข้าวโพด และผลิตผลทางการเกษตร ปริมาณการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในผลิตผลทางการเกษตรถูกนำมาใช้เป็นเครื่องต่อรองราคาในการซื้อขายผลิตผลดังกล่าว ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ทำให้แต่ละประเทศกำหนดค่าการปนเปื้อนเพื่อปกป้องผลประโยชน์ เช่น ประเทศไทย (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529) กำหนดให้มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินได้ไม่เกิน 20 พีพีบี (20  ส่วนในพันล้านส่วน) หรือ 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนประเทศอื่นๆ กำหนดให้มีสารชนิดนี้ไม่เกิน  5-30 พีพีบี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดมาตรฐานในแต่ละประเทศ เพื่อดูแลสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค
          นอกจากนี้พบว่ามีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในนมสดยูเอชทีและนมสดพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งคาดว่าอาจปนเปื้อนมากับอาหารสัตว์ที่วัวกินเข้าไป จากการวิเคราะห์ปริมาณอะฟลาท็อกซินจากตัวอย่างที่สุ่มตรวจของสถาบันอาหาร พบว่ามีระดับอะฟลาท็อกซินตั้งแต่ 0.091 ไปจนถึง 0.837 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร (ระดับมาตรฐานที่สำนักงานอาหารและยาสหรัฐอเมริกากำหนดให้มีได้ในนมคือ 0.50 นาโนกรัม แต่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรปกำหนดไว้เพียง 0.05 นาโนกรัม)



 น้ำอัดลม 




 น้ำอัดลม เครื่องดื่มยอดฮิตสุดโปรดของใครหลาย ๆ คน ที่มักจะชอบดื่มเวลาที่รู้สึกกระหาย โดยให้เหตุผลว่าดื่มน้ำอัดลมแล้วทำให้รู้สึกสดชื่น คลายร้อนได้ ซึ่งเชื่อว่าคนมีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่รู้ว่าเจ้าน้ำอัดลมนั้นไม่ดีต่อร่างกาย ไม่ว่าจะทำให้เกิดโรคอ้วน หรือเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากโรคเหล่านี้แล้ว การดื่มน้ำอัดลมก็ทำให้เสี่ยงกับโรคมะเร็งหลากหลายชนิดได้เช่นกันอย่างที่วันนี้เราจะพาทุกท่านไปดูโทษของน้ำอัดลมที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ จะมีสาเหตุมาจากอะไร แล้วทำให้เสี่ยงโรคมะเร็งชนิดใดบ้าง ไม่อยากให้สุขภาพพังต้องอ่านค่ะ

ผลกระทบต่อร่างกาย

1. ร่างกายขาดสารอาหาร
เวลาที่เราดื่มน้ำอัดลมจะทำให้เรารู้สึกไม่ค่อยอยากทานอาหารหรือทานได้น้อยลง เนื่องจากน้ำอัดลมมีแก๊ซภายในปริมาณมากจึงทำให้เรารู้สึกอิ่ม จุกเสียดแน่นท้อง หากเด็กคนไหนติดน้ำอัดลมหนักก็จะทำให้ไม่อยากกินข้าวจนร่างกายเข้าสู่ภาวะขาดสารอาหารตามมาได้นั่นเอง
2. กระดูกและฟันผุกร่อน
เพราะความหวานที่มีอยู่ในน้ำอัดลมมีปริมาณสูงซึ่งเป็นตัวการที่ให้ฟันเราผุได้ เนื่องจากกรดคาร์บอนิกที่มีในน้ำอัดลมจะเข้าไปทำลายสารเคลือบฟัน และนอกจากสภาพฟันจะสึกกร่อนลงได้แล้ว ยังทำให้กระดูกของเราผุกร่อนตามอีกด้วย ในสตรีวัยทองจึงง่ายต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนนั่นเอง
3. เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลายชนิด
การที่เราดื่มน้ำอัดลมนานๆ ครั้งอาจจะไม่เป็นอะไรมากนัก แต่หากติดดื่มเป็นประจำมากเกินไปก็ย่อมส่งผลให้เป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวานตามมาได้ ทั้งยังทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อเข้าสู่วัยทองได้ง่ายอีกด้วย
4. ระบบย่อยอาหารไม่ดีการดื่มน้ำอัดลมมากเกินไป ก๊าซที่มีในน้ำอัดลมจะเข้าไปทำให้ท้องอืด อาหารไม่ย่อย แน่นและจุกเสียดท้องตามมา ส่งผลให้มีอาการปวดท้องและสำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะยิ่งไม่ควรดื่มอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้อาการของโรคเป็นหนักขึ้น
5. ทำให้นอนไม่หลับ
ปกติแล้ว คาเฟอีนในกาแฟจะทำให้เรานอนไม่หลับจริงมั้ยคะ แต่หากเราดื่มน้ำอัดลมซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่ามันมีปริมาณคาเฟอีนสูงมากไม่น้อยเช่นกัน หากดื่มในเวลาใกล้จะนอนหรือตอนกลางคืน คาเฟอีนจากน้ำอัดลมจะกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว กระปรี้กระเปร่า สดชื่นได้เช่นเดียวกัน ส่งผลให้เรานอนหลับยากไปด้วยนั่นเอง



อันตรายจากน้ำอัดลม




หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ สมัยนี้ อะไรประหยัดได้ก็ต้องประหยัดกันไป ซื้อหลอดไฟยังเลือกหลอดประหยัดไฟเลยค่ะ แต่ระวังให้ดีนะคะ หลอดประหยัดไฟ (...