วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560


สาร Carbon Monoxide  (คาร์บอนมอนนอกไซด์)



                            ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซอันตรายที่เรามองไม่เห็นเเละเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นสารที่มองไม่เห็น ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ปะปนอยู่ในอากาศจำนวนมากบริเวณโรงงานต่างๆเเม้เเต่ในบรรยากาศที่เราสูดอากาศทุกวันค่ะ       สารcarbon monoxide คืออะไร
 อันตรายจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ คุณสมบัติทางกายภาพ เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนาแน่น 0.97 ซึ่งเบากว่าอากาศ ความว่องไวต่อการทำปฎิกิริยาต่ำและสามารถปะปนอยู่ในอากาศได้นาน 1-2 เดือน  จัดเป็นก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์เนื่องจากเป็นก๊าซที่ไม่มีกลิ่น ทำให้เข้าสู่ร่างกายได้โดยที่เราไม่รู้ตัวและเมื่อก๊าซชนิดนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายสามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้โดยจะไปรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนประมาณ 200-250 เท่า   ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย สมองขาดออกซิเจน และถ้าได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอนไซด์ในปริมาณมากอาจทำให้ร่างกายเกิดอาการขาดออกซิเจนเฉียบพลันถึงขึ้นเสียชีวิตได้


ผลกระทบของสารคาร์บอนมอนอกไซด์ต่อร่างกาย
  • - ระดับความเข้มข้น 50 ppm ถึง 200 ppm อาการ ปวดศีรษะเล็กน้อยและอ่อนเพลีย
  • - ระดับความเข้มข้น 200 ppm ถึง 400 ppm อาการ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรงและอาจถึงขั้นเป็นลม
  • - ระดับความเข้มข้นประมาณ 1,200 ppm อาการ หัวใจเต้นเร็วขึ้นผิดปกติ และเริ่มเต้นผิดจังหวะ
  • - ระดับความเข้มข้นประมาณ 2,000 ppm อาการ อาจถึงขั้นหมดสติ      และอาจถึงเสียชีวิต
  • - ระดับความเข้มข้นประมาณ 5,000 ppm อาการ อาจทำให้เสียชีวิตภายในไม่กี่นาที      แต่อาจจะรอดชีวิตถ้ารีบนำผู้ป่วยออกจากบริเวณอับอากาศมาสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์     หรือ มีออกซิเจนเพียงพอ




                     เครื่องตรวจจับสารคาร์บอนมอนนอกไซด์


ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/คาร์บอนมอนอกไซด์


วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สาร Bisphenol A (BPA) (บิสเฟนอล เอ)



         สาร บิสเฟนอล พบในบรรจุภัณฑ์ต่างมากมายค่ะ ในปัจุบันมีสารนี้ปะปนอยู่มากมายในพลาสติก ถุงกระดาษ ซึ่งในชีวิตประจำวันเราอาจใช้บรรจุภัณฑ์พวกนี้จำนวนมาก อาจส่งผลเสียถึงขั้นทำให้เราเป็นโรคมะเร็งได้ เมื่อเรารู้โทษของมันเเล้วเราควรหลีกเลี่ยงจากสารเคมีได้อย่างถูกต้องปลอดภัยค่ะ
สาร BPA คืออะไร?

สาร BPA (Bisphenol) เป็นสารเคมีที่พบในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ทำมาจากพลาสติก และที่สำคัญคือ มีการทดลองในหนูพบว่า BPA เป็นสารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งในต่อมลูกหมาก และส่งผลต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์ในร่างกาย
                                                 บรรจุภัณฑ์พลาสติก

สาร BPA (Bisphenol) จำนวนเพียงเล็กน้อย มีผลทำให้ก่อมะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การเริ่มเป็นหนุ่มสาวเร็วเกินไป โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไฮเปอร์ (hyperactivity) และอื่นๆ พบสาร Bisphenol A ในปัสสาวะ 95% ของประชนที่เข้ารับการตรวจ เป็นที่น่าตกใจว่าพบในมนุษย์อยู่ในระดับกลางซึ่งสูงกว่าระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของสัตว์ทดลองเสียอีก


ผลกระทบของสาร  BPA ต่อร่างกาย

 หากหายใจเข้าไปจะทำให้เกิดการระคายเคือง และไอ ผู้ที่ทำงานใช้สารในระดับประมาณ 240 มิลลิกรัม เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง ทำให้รู้สึกมีรสชาติขม คลื่นไส้ และปวดศีรษะ 
หากสัมผัสถูกผิวหนังจะทำให้เกิดการ     ระคายเคืองเล็กน้อย  การสัมผัสสารติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้เป็นโรคผิวหนัง  เป็นผื่นแดง คัน และบวม หากกินหรือกลืนเข้าไป  จะทำให้เกิดการระคายเคืองในปากและทางเดินอาหาร  แต่ไม่มีพิษต่อร่างกาย  ถ้าได้รับสารในปริมาณมาก  มีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่นมีอาการคลื่นไส้  ปวดศีรษะ วิงเวียน และอาเจียน  สารนี้อาจเป็นสารก่อมะเร็งต่อระบบเลือด เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ สารนี้จัดเป็นสารก่อมะเร็งตามบัญชีรายชื่อของ NTP





สารPhthalates (พาทาเลต )


สาร พาทาเลต เป็นสารอันตรายอีกชนิดหนึ่งที่เราควรรู้ไว้เพราะมันถูกผสมอยู่ในบรรจุภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ของเล่นเด็ก จุกขวดนม สบู่ เเชมพู เป็นต้น ซึ่งบางคนหรือบางอาชีพอาจต้องใช้หรือโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ค่ะ เช่น หากอาชีพการเเสดงที่ต้องเเต่งหน้าเป็นประจำ อย่างไรก็ตามทุกคนก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง เเละควรรู้ไว้เพื่อเป็นการป้องกันค่ะ
สาร phthalates คืออะไร?
สาร phthalates คือสารเคมีชนิดหนึ่งที่ใช้เป็น สารพลาสติไซเซอร์(plastizizer) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ความใส ความทนทาน ยืดอายุ ของผลิตภัณฑ์ เป็นสารเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย


                                                                  ของเล่นเด็ก

 พบใน  ของเล่นเด็ก พื้นไวนิล ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง น้ำมันหล่อลื่น บรรจุภัณฑ์อาหาร เวชภัณฑ์ยา(โดยใช้เป็นสารเคลือบยาเพื่อรักษาสภาพ) จุกขวดนม น้ำยาเคลือบเล็บ สเปรย์จัดเเต่งทรงผม ถุงบรรจุเลือด และผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เช่น น้ำยาเคลือบเล็บ สเปรย์จัดทรงผม สบู่  แชมพูเเละ น้ำหอม


เเชมพู



                                                          สบู่

                                                      น้ำหอม


                                                               จุกขวดนม
ผลกระทบของสารพาทาเลตต่อร่างกาย
สาร phthalates มีผลกระทบต่อร่างกาย โดยอวัยวะที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่คือ ตับ ไต ปอด เเละตาทำให้ผิดปกติทางด้าน ฮอร์โมนการเจริญเติบโต ระบบประสาท  เเละระบบสืบพันธุ์ โดยสารดังกล่าวจะเข้าไปสะสมในร่างกายมากๆอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้

                                                    สเปรย์


ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/พทาเลท


 สาร Triclosan  (ไตรโคซาน)




สำหรับสาร ไตรโครซาน เป็นสารอันตรายชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ค่ะซึ่งมันปะปนอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เราใช้ในปัจจุบันมันอาจจะมีข้อดีต้านเเบคทีเรียเเต่มันก็มีผลเสียต่อร่างกายของเราค่ะเเม้เราไม่อาจทำลายสารนี้ให้หายไปจากโลกนี้ได้เเต่เราสามรถหาวิธีหลีกเลี่ยงได้ค่ะ เช่นใช้ยาสีฟันที่ทำเองหรืออ่านฉลากว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีสารนี้ผสมอยู่หรือไม่คะ
 ไตรโครซานคืออะไร?
 ไตรโครซาน  คือสารเคมีชนิดหนึ่งที่มักใช้ในการผลิตสบู่ประเภทต้านเชื้อแบคทีเรีย และบางครั้งถูกใช้ผสมใน ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก เครื่องสำอาง น้ำยาซักผ้า กระดาษทิชชู่ เสื้อผ้า รวมทั้งผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพอีกมากมายด้วยค่ะ

พบใน
ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก เครื่องสำอาง น้ำยาซักผ้า กระดาษทิชชู่ เสื้อผ้า รวมทั้งผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพอีกมากมาย
                                           สารไตรโคซานที่ถูกนำมาผสมในยาสีฟัน

ผลกระทบของไตรโครซานต่อร่างกาย?
  
          ไตรโครซาน  ที่ถูกดูดซึมผ่านผิวหนังหรือเข้าไปทางปาก จะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลายาวนาน โดยมีรายงานหลายชิ้นที่ชี้ว่า สารไตรโครซานอาจทำให้เกิดอาการแพ้ตามผิวหนัง ทำให้ต่อมฮอร์โมนทำงานผิดปกติ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ระบบการเจริญพันธุ์มีปัญหา ตลอดจนอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ 

                                   
สารไตรโคซานที่ถูกนำมาเป็นส่วนผสมต่างของผลิตภัณฑ์ประเภทต้านเชื้อเเบคทีเรีย


ที่มา https://www.voathai.com/a/triclosan-effects-sex-health/3758275.html

หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ สมัยนี้ อะไรประหยัดได้ก็ต้องประหยัดกันไป ซื้อหลอดไฟยังเลือกหลอดประหยัดไฟเลยค่ะ แต่ระวังให้ดีนะคะ หลอดประหยัดไฟ (...